อุปกรณ์ปกป้องอันตรายจากเสียง
1.การสูญเสียการได้ยิน มี 2 ลักษณะ คือ
1.1 การสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว เนื่องจากการรับฟังเสียงดังมากๆ ในระยะเวลาไม่มากนักทำให้หูอื้อ ถ้าหยุดพักการได้ยินก็จะกลับคืนสู่ปกติได้ 1.2 การสูญเสียการได้ยินแบบถาวร เกิดจากการที่ได้รับฟังเสียงดังเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้ เซลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย ทำให้รับฟังเสียงไม่ได้ เกิด หูตึง หูพิการ
2. ผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ
2.1 เกิดความรำคาญ หงุดหงิด เกิดความเครียด และเป็นโรคจิต โรคประสาทได้ง่าย
2.2 รบกวนการนอนหลับ
2.3 ทำให้เกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
2.4 นอกจากนี้ยังส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
2.5 เป็นอุปสรรคในการทำงาน อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
แนวทางการป้องกันการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน
- ปรับปรุง แก้ไข เพื่อลดเสียงจากเครื่องจักร อุปกรณ์หรือแหล่งที่ทำให้เกิดเสียงดัง
- สวมอุปกรณ์ป้องกันหูตลอดเวลาการทำงาน
- เผยแพร่ความรู้เพื่อให้พนักงานใช้อุปกรณ์ลดเสียงอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี
- สับเปลี่ยนให้พนักงานที่สูญเสียสมรรถภาพการได้ยินให้ปฏิบัติงานในแผนกอื่น
- ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานที่ต้องสัมผัสกับเสียงดัง
- ปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อไม่ให้ระดับความดังของเสียงเกินมาตรฐานที่กำหนด ตารางแสดงมาตรฐานเปรียบเทียบระดับเสียงเฉลี่ย ที่ยอมรับได้กับเวลาการทำงานในแต่ละวัน